วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ ครั้งที่2

1. Classroom Management   การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ครูควรให้ความสนใจ หากพบนักเรียนที่ปัญหาครูจะดำเนินการอย่างไร ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละเรียน เหมือนที่เราชอบเรียนวิชาอะไรในช่วงเด็กเพราะเราชอบครูใช่หรือไม่ช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการ
2.การจัดการชั้นเรียน :ห้องเรียนแห่งความสุข (CLASSROOM MANAGEMENT :HAPPINESS CLASSROOM
3. การเรียนรู้ตลอดชีวิต  (Lifelong Learning)
4.การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5.การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non – Formal Education) เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการศึกษาซึ่งเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนตามปกติ ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเอง ให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะอ่อนตัวให้ผู้เรียนมีความสะดวกเลือกเรียนได้หลายวิธีจึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและสังคมเป็นอย่างยิ่ง

6.e-Learning (Electronic learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์    ความหมายของ E-learning ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น "การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล"
คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
7.graded = ผู้สำเร็จการศึกษา
8. Policy education   เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความเข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มีบทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)
9. Vision ( Vision ) หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการหยั่งรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างภาพอนาคตเพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความรู้และพลังแห่งการจินตนาการ
10. Mission พันธกิจ (Mission) คือ ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
11.(GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้อง อยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง หลายองค์กรมีเป้าหมาย แม้กระทั่งแผนดำเนินงานมากมายแต่ไม่ค่อยบรรลุเมื่อลงมือทำการ(Implement)เหตุเพราะว่าขาดการติดตามงาน ไปให้ความสำคัญของเป้าหมายมากกว่าการกระทำ เมื่อถึงปลายปีที่ต้องมาทบทวนเป้าหมาย จึงมักพบว่าไปได้ไม่ถึงไหน เป็นได้แค่เป้าที่สวยหรู
12. วัตถุประสงค์ (Objective) หมายถึง เป้าหมายซึ่ง ต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้             
13. Backward Design  คือ แนวคิดในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของ  Wiggins  และ  Motighe  ในลักษณะ  Benchmark  Design หรือการอิงมาตรฐาน  เป็นการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ โดยกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (Learning  Goals)ที่ต้องการ  หรือมาตรฐานการเรียนรู้ขึ้นมาก่อน  เพื่อกำหนดภาระงาน  วิธีการประเมิน  แล้วจึงออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ( แผนการจัดการเรียนรู้)
14.ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%
15.ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน
16.เศรษฐศาสตร์ (Economy) หมายถึง การศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้อย่างประหยัด หรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity คือผลรวมของคุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ ความเชื่อมั่น คือ Trust ที่สามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่า ในขณะที่ความคาดหวัง
18การมอบอำนาจ(Empowerment) หมายถึง การแบ่งอำนาจของคุณกับบุคคลที่คุณมีอำนาจ
เหนือสมาชิก ทีมงานได้รับมอบอำนาจตัดสินใจ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสิ่งที่สงวนไว้สำหรับผู้บริหาร
                19. Employee engagement ของเรื่องนี้จะหมายถึง การทำพันธะสัญญาทางใจกันของพนักงานกับองค์กร เพื่อให้เกิดความผูกพันและรักที่จะทำงานเพื่อองค์กรอย่างเต็มกำลังความสามารถ
20.โครงการ (อังกฤษ: project) หมายถึง กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆกิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นการผลิตสินค้า หรือ ทำงานบริการ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงานโครงการจะต้องมีผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโครงการ มีหน้าที่ทำการบริหารงาน กิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน เหมาะสมกับเวลา และงบประมาณที่ตั้งไว้
21. activies
 22.ภาวะผู้นำ (Leadership)  หมายถึง  ความสามารถที่ในการอิธิพลเหนือผู้อื่นและจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามและทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ภาวะผู้นำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ที่จะกำหนดหรือชักจูงให้กลุ่มสมาชิกในองค์การทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  และการมีอิทธิพลต่อกลุ่มต่างๆในองค์การ            
23.  ผู้นำ(Leader) หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น ภาวะผู้นำและการจูงใจเป็นสิ่งที่มีอยู่ควบคู่กันไปเสมอ
24.Follows  การติดตามหลักการออกแบบ ที่รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอยนั้น เป็นระเบียบวิธีการออกแบบที่ถือปฏิบัติอย่างกว้างขวางของสถาปนิกและนักออกแบบ
                25.สถานการณ์ (Situation) : หมายถึง เหตุการณ์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
                26.การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้ (Intuition) อย่างไร
                27.การสื่อความหมาย (Communication) คือ ความสามารถในการพูดและการฟังอย่างเปิดเผยจริงใจ และส่งข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ออกไป
                28. (Assertiveness) หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
                29. time management matrix ซึ่งมี 2 แกน คือ แกนความสำคัญ กับ แกนความเร่งด่วน เรื่องความเร่งด่วน ทุกคนคงทราบว่าด่วนก็คือด่วน แต่ถามว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ(สำหรับเรา)ล่ะ สิ่งที่สำัคัญ คือสิ่งที่ทำแล้วช่วยให้เราเข้าใกล้เป้าหมายได้มากขึ้น เช่น ถ้าเป้าหมายเราคือ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย และการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเรา แต่ถามว่าทั้งสองกิจกรรมนี้เป็นเรื่องด่วนมั้ย? ก็ไม่ ไม่ออกกำลังกายวันนี้ อาทิตย์นี้ก็ไม่เป็นอะไร แต่มันสำคัญกับเป้าหมายของเรา
                30. กระบวนการบริหารการศึกษา
        จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
              P – Planning หมายถึง การวางแผน
              O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
              S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
              D – Directing หมายถึง การสั่งการ
              Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
              R – Reporting หมายถึง การรายงาน
              B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
    ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการ
                31.ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
                32.ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือ ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยงานให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
                33สิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
                34. Globalization คือกระบวนการการลดพื้นที่ชายขอบทางอำนาจของรัฐ(Deterritorialization) การพิจารณาบทบาทของกระบวนการ Globalization ที่ทำให้เกิดการปรับตัวของอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดแนวคิดภูมิภาคนิยม (regionalism) และท้องถิ่นนิยม (localism) ตลอดจนการปรับตัวทางการเมืองของโครงสร้างเหนือรัฐ (supra-territoriality) การปรับตัวดังกล่าวเป็นการปรับตัวของรัฐที่จะเผชิญกับอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ เพื่อการอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมมีการเชื่อมตัวกันอย่างเข้มข้นและชัดเจนมากขึ้นกว่าที่เคยเกิดมา อันเป็นผลจากการเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ทางสังคมอื่นๆ ที่มีความห่างไกล (Giddens 1990:64) ความสัมพันธ์ที่อยู่ห่างไกลมีการลดลงด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่เป็นตัวทำให้สภาพทางภูมิประเทศ พื้นที่  ชายแดน (territorial borders) ไม่กลายเป็นข้อจำกัดของแรงของอิทธิพลของความสัมพันธ์ทางสังคมด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์ 
                35. Competency หรือเรียกว่าความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
                36.ระดับบุคล (Individual Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกของบุคลตามตัวตน เป็นพฤติกรรมเฉพาะของตนเองเช่น การเรียนรู้ รับรู้ ทักษะ แสดงออกเป็นบุคลิกภาพ เช่น การนั่ง นอน พูดคุย ติดต่อสื่อสาร
                37.พฤติกรรมระดับกลุ่ม (Group Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่บุคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามเหตุผลความต้องการของบุคคลหรือกลุ่ม การรวมกลุ่มของบุคคลจะมี 2 ลักษณะคือกลุ่มปฐมภูมิ มีขนาดเล็ก 5-15 คน มีความใกล้ชิดสนิทสนมคุ้นเคยกันดี เช่นกลุ่มครอบครัว เพื่อนร่วมสถาบัน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่ม 5 ส เพื่อความปลอดภัยกลุ่มทุติยภูมิ จะมีขนาดของกลุ่มใหญ่ขึ้น สมาชิกมีบทบาทหน้าที่ไว้อยู่แล้วในกฎระเบียบของกลุ่ม เช่นกลุ่มผจญเพลิง กลุ่มพนักงานโรงงาน กลุ่มนายจ้างโรงงานน้ำตาล เป็นต้น
                37.พฤติกรรมองค์การ (Organization Behavior หรือเรียกย่อว่าOB) เป็นสาขาวิชาที่มีทฤษฎีวิธีการและหลักการซึ่งได้มาจากศาสตร์หลาย แขนงวิชาด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของบุคคลรวมทั้ง  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มตลอดจนพฤติกรรมที่  เป็นภาพรวมระดับองค์การมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพ   แวดล้อมภายนอกต่อองค์การโดยเฉพาะส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์  ภารกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ
                38. Team working การทำงานเป็นกลุ่มบุคคล(work team) คือการทำงานโดยบุคคลหลายคน โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน และมีการแบ่งสรรหน้าที่กันแล้วแต่ละคนมีความพึงพอใจในหน้าที่ของตนการทำงานเป็นทีม (team work) คือกลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วยหมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร หมวกสีแดงหมายถึงอารมณ์ความรู้สึก หมวกสีดำหมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยส่วนหมวกสีเหลือง คือการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง หมวกสีเขียวหมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์ และหมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด
40.การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน(Classroom Action Research) หมายถึง การทำงานเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการทำงานที่เป็นระบบ มีขั้นตอน การวางแผน ลงมือตามแผน ตรวจสอบผลการทำงาน และสรุปผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น