วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13






1)            ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะว่า เด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ (อาหาร) แบบไม่สมดุล คือ บางอย่างมากไป บางอย่างน้อยไปอาหารกลุ่มที่ "มากไป"  มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน (คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อย

และที่สำคัญก็คือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้าทั้งที่อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดเมื้อหนึ่งโดยอาหารเช้าเป็นการ เติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสีย เครียด อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้า เพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ โดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน



       2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก   กำลังกายไหม)

 น้อย  ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อยมาก มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น  เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบดบินตัน  ว่ายน้ำ นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง 


 3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)  
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว  การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก


 
  
การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินการโดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญ  5  ประการ  คือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล    อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปฏิบัติต่อนักเรียน  ดังนี้
1.1   จัดทำระเบียนประวัตินักเรียน  ให้เป็นปัจจุบัน   
1.2   จัดทำแบบ SDQ                                                        
1.3   ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัด  EQ                                      
1.4   สำรวจน้ำหนักและส่วนสูง  ของนักเรียน                                             
1.5  ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน  เยี่ยมหอพัก  และประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย 
2.  การคัดกรองนักเรียน   โดยใช้แบบคัดกรองนักเรียน  คัดกรองนักเรียน  เดือนละ  1 ครั้ง   เพื่อจะได้นำข้อมูลมาช่วยในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน   โดยใช้ข้อมูลจาก
2.1  การสังเกต   ของอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โดยการสังเกตพฤติกรรม
2.2  ระเบียนประวัตินักเรียน  ให้เป็นปัจจุบัน   
                2.3   แบบ SDQ                                                  
                2.4   แบบทดสอบวัด  EQ                                
                2.5    การสำรวจน้ำหนักและส่วนสูง                                            
                2.6    ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน  เยี่ยมหอพัก  และประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย
             2.7    ตรวจปัสสาวะ
3.  การส่งเสริมนักเรียน   อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ปฏิบัติต่อ
นักเรียน  ดังนี้
                3.1   อบรมนักเรียนตอนเช้าก่อนเข้าเรียน  ในคาบแรกทุกวัน (โฮมรูม)   แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการโฮมรูม    ส่งฝ่ายปกครองเดือนละ  1  ครั้ง  โดยใช้คู่มือการโฮมรูม  ประกอบการโฮมรูม
                3.2  โรงเรียน จัดกิจกรรม และโครงการส่งเสริมนักเรียน ให้เป็นคนดี  คนเก่ง  และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 
4.   การป้องกันและแก้ไขปัญหา   อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนปฏิบัติต่อนักเรียน  ดังนี้
                4.1  สำรวจสถิติการมาโรงเรียนของนักเรียน  ทุกเช้า  นำข้อมูลส่งอาจารย์ที่หัวหน้าระดับ
ทุกเช้าก่อนเข้าโฮมรูม  
                4.2  ให้นักเรียนทำแบบขออนุญาตออกนอกโรงเรียน  เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกโรงเรียน 
                4.3  ให้นักเรียนบันทึกพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของนักเรียนไว้ 
                4.4  ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองทราบ  เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่ เบี่ยงเบน
                4.5  ทำหนังสือเชิญผู้ปกครองมาพบครูที่ปรึกษา  เมื่อนักเรียนยังไม่ปรับปรุงพฤติกรรม
                4.6.  จัดทำกิจกรรมและโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไข  เช่น
 (1)โครงการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดสากล
(2)โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน การเยี่ยมหอพักนักเรียน  ประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย เป็นต้น

5.  การส่งต่อ   เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ไม่สามารถที่จะแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนได้   ให้ส่งต่อนักเรียนคนนั้น   ไปให้อาจารย์ฝ่ายแนะแนว   ซี่งเป็นนักจิตวิทยาของโรงเรียน  หรือโรงพยาบาล   หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลช่วยเหลือต่อไป


7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)

ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ  ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ  เช่น
-การฝึกทำงานเป็นกลุ่ม
-การฝึกสมาธิ  เป็นต้น


 8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
โรงเรียนจะประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆได้ โดยสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษา  และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด


 9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ

มี  เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร  จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ  สนับสนุน  หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป  เช่น
 ระบบประเมินสุขภาพด้วยตนเองสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรีย และผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพของบุตรหลานที่มีอายุอยู่ระหว่าง 10-18 ปี สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสุขภาพของตนเองว่ามีภาวะสุขภาพที่ดี หรือมีความผิดปกติ ตลอดจนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยในเรื่องต่างๆ รวม 8 เรื่องหรือไม่ คือ

-ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
-ภาวะการเจริญเติบโต
-โรคหรือความผิดปกติของร่างกาย
-ภาวะสายตาและการได้ยิน
-ความสุข
-สมรรถภาพทางกาย
-พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
-พฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น