วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  หมายถึง การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือรวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้  มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ 
1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL)
2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (individual study)
3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)
4) การเรียนรู้จากการสอนแบบเอส ไอ พี
5) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study)
6) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)
7) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research–based Learning)
8) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach)

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เวลา 2 ชั่วโมง


1. สาระสำคัญ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาขึ้นในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนจะยึดถือเอาวันเหล่านั้นเป็นวันที่ควรระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบศาสนาพิธีเพื่อเป็นการบูชาและประพฤติให้ถูกต้องในวันสำคัญ และพิธีกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. มาตรฐานการเรียนรู้
ส 1.3 ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ส 1.3.1 รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มสังคมที่ตนเป็นสมาชิก และสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัว ชุมชนและประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 1.3.2 ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือ และร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาด้วยความเต็มใจ
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ ความเข้าใจ บอกความหมาย เห็นความสำคัญ รู้เข้าใจเหตุการณ์สำคัญ ๆและปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ด้วยความศรัทธาและถูกต้องเหมาะสม
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายความสำคัญ ที่เกิดขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2. ปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ได้ด้วยความศรัทธา

6. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา และปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี
2. ด้านสังคม ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจต่อกัน และมีความสามัคคี ทั้งใน ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
7. สาระการเรียนรู้
วันสำคัญทางศาสนา
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2. ครูทักทายสนทนาประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาว่าเคยปฏิบัติตนอย่างไร และมีความรู้สึกอย่างไร
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
5. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม คละความสามารถ ประกอบด้วย คนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 -3 คน และอ่อน 1 คน ครูแนะนำการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power pointโดยนักเรียนต้องร่วมมือกัน และต้องดูแลช่วยเหลือกันในการเปิดบทเรียน อ่านและเรียนรู้ร่วมกัน ใช้คอมพิวเตอร์กลุ่มละ 1 เครื่อง คนที่เก่งจะเปิดบทเรียนอิเรคทรอนิค นักเรียนในกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันโดยอ่านเนื้อหาและฟังบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับวันแต่ละวัน จบตอนแต่ละช่วงวันสำคัญ แต่ละวันหยุดอภิปรายแสดงความคิดเห็น ครูคอยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนรายบุคคล และพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม
ชั่วโมงที่ 2 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์
1.             นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2.             ทบทวนความรู้เดิมจากการเรียนบทเรียนอิเรคโทนิค โดยใช้โปรแกรมpower point ในชั่วโมงที่ผ่านมา
3.              ดูภาพและสนทนากับนักเรียน ในเรื่องเกี่ยวกับการไปร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธ ศาสนาที่วัดในชุมชน เมื่อครั้งที่ผ่านมาว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนั้นอย่างไร และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่จะมีขึ้นต่อจากนี้คือวันใด
4.              แบ่งนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม คละความสามารถ ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกผู้ทำหน้าที่ประธาน รองประธานและเลขานุการ ศึกษาจากใบความรู้ ตั้งชื่อกลุ่มในแต่ละกลุ่มและทำกิจกรรมตามใบงานกำหนด โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวันสำคัญดังนี้
- วันมาฆบูชา – วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
5.สมาชิกในกลุ่มได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาสมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้
5.1 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ใบงานกำหนด
5.2 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่มให้เข้าใจเนื้อหาที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของวันสำคัญทั้งหมด
5.3 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของ ทุกคนในกลุ่ม บ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล
8. อุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. โปรแกรม power point เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
2. ใบงานที่ 1 เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
3. ใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์วันสำคัญทางศาสนา
4. หนังสือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5. แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
6. ห้องสมุดโรงเรียนวัดต้นชุมแสง
7. ภาพการแสดงธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
9. การวัดผลและประเมินผล
9.1 วิธีการวัด/สิ่งที่วัด
1. การตรวจใบงาน
2. การสังเกตการณ์ทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
3. การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
5. การตรวจผลงานจากแบบทดสอบ
6.การตรวจผลงานแผนผังความคิด
9.2 เครื่องมือวัด
1. แบบประเมินผลการทำข้อทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
2. แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายและบันทึกผล
3. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
4. แบบบันทึกประเมินการฝึกปฏิบัติใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2
9.3 การประเมินผล
1. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 1
2. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 2
3.ผลการปฎิบัติจากการทำแผนผังความคิด
4. ผลทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การวัด
ผ่านเกณฑ์ นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ไม่ผ่านเกณฑ์ นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินน้อยกว่าร้อยละ 50

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น