วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


1.ประวัติส่วนตัว

 ประวัติ  ร.ศ. สุนีย์ สินธุเดชะ การศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต และครุศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเป็นนักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา สาขาพัฒนศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การงาน ปีการศึกษา 2503-2540 ได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
-  ประสบการณ์ บรรยายอบรมในสถานศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของชาติแก่สถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมถึงอุดมศึกษา
-  บรรยายวิชาภาษาไทยแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย วิทยาลัยพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลราชวิถี วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลภูมิพล วิทยาลัยพยาบาลพระปิ่นเกล้า วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
-  บรรยายและอภิปรายเป็นครั้งคราว แก่วิทยาลัยพยาบาลเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์ และอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านภาษากับการสื่อสาร
-  บรรยายและอบรมในเวลาที่ข้าราชการครูจัดทำปฏิบัติการด้านการเรียนการสอน โดยบรรยายด้านการสอนโดยทั่วไป และเฉพาะวิชาวิธีสอนวิชาภาษาไทย
-  บรรยายแก่ข้าราชการ และองค์กรทางธุรกิจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานอย่างเป็นสุข และหัวข้ออื่นๆตามผู้เชิญต้องการแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ศึกษามา
-  ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยการโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์ (Shatee University)
ศึกษาดูงานการเรียนการสอนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยHawaii
-  ศึกษาดูงานการศึกษาภาษาต่างประเทศและกิจกรรมด้านการเรียนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

2.ผลงาน
ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และ ผู้อำนวยการด้านการศึกษาและประชาสัมพันธ์ โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา IES  ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ ระดับ  9งานเขียนพิเศษ ตอบปัญหาด้านการศึกษาแก่นักเรียนและผู้ปกครอง     ตอบปัญหาชีวิตในนิตยสารดาราภาพยนตร์ เขียนตำราวิชา ภาษาไทยกับการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5-6 เขียนตำราวิชา ภาษาไทยธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปวช. 3 เขียนตำรา มารยาทและวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาปวช. 3

3.เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร

                เป็นอาจารย์ที่พูดเก่งใช้ภาษาถูกต้องชัดถ้อยชัดคำ และแต่งกายสุภาพเรียบร้อย และเป็นบุคคลที่จะเอาไว้เป็นแบบอย่างได้และผลงานนั้นก็เป็นที่น่าประทับใจและสามารถนำเอาไปใช้ได้



วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2


ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการศึกษา
ทฤษฎีของมาสโลว์
       ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
     1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
     2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
     3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
     4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
     5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
     ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
     1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
   3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
   4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
          จากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสรภาพ อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ สรุป เพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใ
แนวปฏิบัติ
1. เน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระสารมารถสรุปและสร้างความรู้ใหม่ๆได้จากข้อมูลได้
3. นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ครูคือผู้อำนวยความสะดวก
4. เน้นการปฏิบัติควบคู่กับหลักการและทฤษฎีมีกรอบแนวคิด หลักการ สู่การปฏิบัติ
5. เน้นวิธีสอน การเรียนรู้ ให้หลากหลาย
6. กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าเนื้อหา
7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดมากกว่าการหาคำตอบที่ตายตัวเพียงคำตอบเดียว
8. ใช้กระบวนการกลุ่ม ในการเรียนรู้ ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ดังนั้น ผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดการเรียนรู้ให้หลากหลายวิธี ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในสังคม

ที่มา  http://www.kru-itth.com/index.php

กิจกรรมที่1

ความหมายของการจัดการชั้นเรียน
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าใจกันว่า การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการสร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน อีกทั้งต้องคงสภาพสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เพื่อช่วยให้การสอนในชั้นเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนอย่างยั่งยืน
การจัดการชั้นเรียนจึงมีความหมายกว้าง นับตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้ง
สร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุภาวรรณ : 2552)
นอกจากนี้แล้วยังมีนักการศึกษาหลายท่านได้กำหนดความหมายของการจัดการชั้นเรียนไปในแนวทางเดียวกัน ดังนี้
สุรางค์ โค้วตระกูล (สุภวรรณ : 2551) ได้อธิบายความหมายของการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึงการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ซูซาน (สุภวรรณ : 2551) ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน ความพยายามของครูที่มีประสิทธิภาพนั้นหมายรวมถึง การที่ครูเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ(responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive)

การบริหารการศึกษา
ความหมายของการบริหารการศึกษา ( Educational Administration )
ความหมายของ การบริหารการศึกษา ( Educational Administration )”  โดยดูจากคำว่าการบริหารการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ  คือคำว่า การบริหาร  ( Administration )” และการศึกษา ( Education )”  ดังนั้นจะขอแยกความหมายของคำทั้งสองนี้ก่อน
ความหมายของคำว่าการบริหาร มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างสัก 6 ความหมาย ดังนี้
การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหาร คือ  การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การบริหาร คือ  กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการ ให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
การบริหาร คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร ( Process of administration ) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
จากความหมายของการบริหารทั้ง 6 ความหมายนี้  พอสรุปได้ว่า  การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
ส่วนความหมายของการศึกษา ก็มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
จากความหมายของการศึกษาข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า  การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด  ความสามารถ และความเป็นคนดี
เมื่อนำความหมายของ การบริหาร มารวมกับความหมายของ การศึกษา ก็จะได้ ความหมายของการบริหารการศึกษา ว่า การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี นั่นเอง

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง

ชื่อนางสาวธิดารัตน์   วายุภักดิ์
ชื่อเล่น นี
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโมคลาน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ
คติ ทุกสิ่งจะมีค่า ก็ต่อเมื่อสูญเสียมันไป
กำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมาราช